ศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน

ความเป็นมา

     ศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ ผู้บริหารของสถาบันในช่วงนั้น มีดำริถึงความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และวิสัยทัศน์ที่สำคัญประการหนึ่งของสถาบัน คือ ความเป็นสถาบันที่มีความเป็นเลิศ ใน 3 ภารกิจหลัก คือ 1) งานด้านการวิจัย 2) การจัดการศึกษา และ 3) การให้บริการวิชาการ สำนักวิจัยเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการวิจัยจึงได้สานแนวคิดและได้จัดตั้งโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการในด้านการวิจัยโดยแบ่งเป็นกองงานวิจัยโดยมีศูนย์วิจัยภายใต้กองงานดังกล่าว 12 ศูนย์ นอกจากนี้สำนักวิจัยดำเนินงานวิจัยคุณภาพชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535- ปี พ.ศ. 2554) โดยได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บนฐานความรู้และการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สำนักวิจัยจึงได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน” เพื่อศึกษาวิจัยต่อยอดความรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชนในเชิงบูรณาการ อันนำไปสู่การการบริหารการพัฒนาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

วิสัยทัศน์

     "สร้างความรู้เพื่อบริหารการพัฒนาให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีความมั่นคง และตระหนักในคุณค่าของชีวิตและครอบครัว"

พันธกิจ

1. ศึกษา วิจัย สหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ด้านการบริหาร การพัฒนา คุณภาพชีวิตในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน สังคมและ องค์กร

2. ศึกษา วิจัย องค์ความรู้ ด้านคุณภาพชีวิตในประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย

3. พัฒนาตัวชี้วัด มาตรวัดคุณภาพชีวิต ความสุข ของคนไทย

4. เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย

5. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการวิจัย พัฒนาตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร

6. ฝึกอบรม ให้ความรู้แก่บุคลากร ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร เครือข่าย ต่างๆ และประชาชนทั่วไป

เป้าประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างงานวิจัยเชิงบูรณาการและเป็นระบบ

2. เพื่อเผยแพร่ ผลงานวิจัย ความรู้ สู่สาธารณะ

3. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ

4. เพื่อสร้างความเข้าใจ องค์ความรู้ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

  • ผศ.ดร. ปนันดา จันทร์สุกรี

    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน

    ความเชี่ยวชาญ:

    • นโยบายสาธารณะ
    • การจัดการภาครัฐแนวใหม่
    • ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
    • การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ผลงานวิจัย

ชื่อโครงการ แหล่งทุน

โครงการวิจัย “ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”                             

- รายงานวิจัย

งบประมาณแผ่นดิน (วช.)
 

ชื่อโครงการ แหล่งทุน
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภายใต้โครงการจำนำข้าว                         งบแผ่นดิน
 

ชื่อโครงการ แหล่งทุน
โครงการการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สถาบันพระปกเกล้า
โครงการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กสทช
Research Proposal
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภายใต้โครงการจำนำข้าว  งบประมาณแผ่นดิน (วช.)
ความเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชน:ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ งบประมาณแผ่นดิน (วช.)
Journal  
การประเมินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ :  แนวคิด 3 P

ตีพิมพ์วารสารการเมือง การปกครอง และกฎหมาย

คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม  2557)

 
มาตรการ กลไก องค์ความรู้ ของประชาชนอาเซีย อยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ วารสารมหาวิทยาลัยรำไพพรรณี
การประเมินคุณภาพเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : ประเภทเนื้อหาละคร อยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยทักษิณ
การฝึกอบรมและอื่นๆ
การนำเสนอผลงานวิจัย สื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์รายการ วันนี้ที่นิด้า  หัวข้อ “คุณภาพชีวิต..สร้างได้ ”
 
 

Research

1. “โครงการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” , สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), กรุงเทพฯ,2556

2. “ ศึกษาการสร้างกลไก มาตรการ และองค์ความรู้ ของสังคมเพื่อสร้างการปรับตัวของประชาคมอาเซียน” , สำนักปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ,กรุงเทพฯ. 2555.

Journal

1. “การพัฒนาคุณภาพชีวิต:ความสมดุลของชีวิต การทำงาน เวลาว่าง การพักผ่อนหย่อนใจ” (Quality of Life :Recreation - Leisure - Work Life Diary Activities Balance),(2556)

2. “ความคาดหวังและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ”,(2556)

จำนวนผลงานของศูนย์

ผลงานวิจัย

จัดทำคลิปบรรยายกว่า 100 เรื่อง

We have step by step tutorials & instructions

ผลงานผลงาน 50 เรื่อง

We have step by step tutorials & instructions

สร้างเครือข่ายกว่า 20 เครือข่ายทั่วประเทศ

ติดต่อเรา

ศูนย์วิจัยคุณภาพชีวิตและสุขภาวะชุมชน

ชั้น 20 อาคารนวมินทราธิราช

สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

148 ถนนเสรีไทย  คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240 

เบอร์โทร

02–727–3308 , 098-983-9545

Email

pananda.c@gmail.com