ความเป็นมา
สำนักวิจัยเป็นหน่วยงานกลางของสถาบัน มีบทบาทและพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยของสถาบัน การบริการวิชาการ การบริการด้านแหล่งทุนวิจัย และด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยของสถาบันในรูปแบบต่างๆ โดยมุ่งเน้นทำงานวิจัยในประเด็นต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการเป็นสถาบันด้านงานวิจัยและการให้บริการ และเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2551-2565) ในยุทธศาสตร์ที่ 6 การรักษาความเป็นเลิศทางวิชาการด้านหลักสูตรงานวิจัยและการบริการวิชาการที่มีความโดดเด่นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน เป็นหนึ่งในศูนย์วิจัย 12 ศูนย์ภายใต้กองงานวิจัย สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมีเป้าหมายเพื่อวิจัยสถานการณ์และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาใหญ่ในระดับโลก ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วยศูนย์วิจัยผลกระทบจากโลกร้อนจึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบโลกร้อน จะเป็นประโยชน์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
วิสัยทัศน์
“ศูนย์วิจัยภาวะโลกร้อนระดับแนวหน้าของประเทศ
แผนงานวิจัยและแผนดำเนินการ
การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การอนุรักษ์เสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลยุทธ์การวิจัยที่ 3 ภาวะโลกร้อนและพลังงานทางเลือก
1. การวิจัยเกี่ยวกับการก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนและการดำเนินการบรรเทาปัญหาหรือปรับตัว
2. การวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและใช้พลังงานและการนำพลังงานทางเลือกมาใช้
3. การวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการจัดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองต่อภาวะโลกร้อน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานวิจัยให้มีเป้าหมายชัดเจนยกระดับมาตรฐานงานวิจัยเน้นประเด็นสำคัญเรื่องผลกระทบจากโลกร้อนเพื่อส่งต่อข้อมูลผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์กับประเทศให้กับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติของประเทศต่อไปทำให้ตอบสนองความต้องการของสังคมมากขึ้นพร้อมสร้างโอกาสในนักวิจัยได้นำผลงานมาตีพิมพ์เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลทั้งยังให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐเอกชนรัฐวิสาหกิจและองค์กรต่างๆได้มากขึ้นอีกด้วย
พันธมิตร
1. ประสานงานกับนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายด้านการวิจัย
2. ประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาที่เคยร่วมงานในการทำวิจัยร่วมกันและเสนอขอทุนวิจัยจากแหล่งต่างๆ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
ความเชี่ยวชาญ:
- การประเมินผลนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน
และโครงการ
- การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000)
- การจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง
- การบริหารโครงการ
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
ความเชี่ยวชาญ:
ชื่อโครงการ | แหล่งทุน |
การศึกษาดัชนีความสามารถพึ่งตนเองด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างการค้า และปัจจัยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลผลิตมวลรวมในประเทศไทย |
งบแผ่นดิน |
การบริหารจัดการพลังงานในชุมชน ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา | บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) |
ทบทวนนโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน | สำนักงานนยาบและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน |
ตัวแบบการประยุกต์หลักอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศไทย | สกอ. |
ชื่อโครงการ | แหล่งทุน |
ข้อเสนอโครงการวิจัย | |
การวิเคราะห์สถาบันและองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย | งบประมาณแผ่นดิน (วช.) |
โครงการวิจัย | |
โครงการวิจัย โครงการศึกษาวิจัยและประยุกต์ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี | สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |
โครงการวิจัย การติดตามประเมินผล โครงการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานแก่หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ | งบประมาณแผ่นดิน (มุ่งเป้า: Flagship) |
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนทางสังคมจากการผลิตพลังงานชีวมวลในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน | สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน | ทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) |
แนวทางการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมปาล์มน้ำมันต่อการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานของประเทศไทย | สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) |
การจัดทำตัวชี้วัดการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและชุมชนชนบทโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | วช. |
แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม |
สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
เครื่อข่ายเพื่อการจัดการก๊าซชีวภาพชุมชนในระดับชุมชนและระดับครัวเรือนอย่างครบวงจร กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธิ์ธาราม จังหวัดราชบุรี ทุนสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม | วช. |
คู่มือการบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ภายใต้บริบทของประเทศไทยและบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | วช. |
“โครงการศึกษาวิจัยและประยุกต์ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี” | สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน |
ชื่อโครงการ | แหล่งทุน |
การศึกษามาตรการทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อช่วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในประเทศไทย | สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |
การทบทวนและการวิเคราะห์นโยบายการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ | สกว. |
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน | สกว. |
ตัวชี้วัดที่เหมาะสมเพื่อการปรับไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวและตอบสนองปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของภาคเกษตรกรรมไทย กรณีศึกษาปาล์มน้ำมัน | สกว. |
แนวทางการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมปาล์มน้ำมันต่อการลดก๊าซเรือน กระจกตามมาตรฐานของประเทศไทย | สกว. |
โครงสร้างองค์กรด้านการบริหารจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต | สกว. |
แผนพลังงานชุมชนพึ่งตนเอง ระยะ ๕ | สกว. |
โครงการการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อหาแนวที่เหมาะสมเพื่อการจัดการชิ้นส่วนจากซากรถยนต์ของประเทศไทย | สกว. |
โครงการการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกรณีศึกษาโรงไฟฟ้ากระบี่จังหวัดกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา | สกว. |
จำนวนผลงานของศูนย์
We have step by step tutorials & instructions
We have step by step tutorials & instructions
ชั้น 20 อาคารนวมินทราธิราช
สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
148 ถนนเสรีไทย คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240
02–727–3114, 089-929-6006
chamlong@nida.ac.th
12 ศูนย์วิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์