ความเป็นมา
ศูนย์วิจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในสังคมจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการปรับโครงสร้างสำนักวิจัยให้มีศูนย์วิจัยในสาขาต่างๆ มากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนให้งานวิจัยมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและตอบสนองความต้องการของสังคมมากขึ้น ศูนย์วิจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในสังคมดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่างบุคลากรของศูนย์ร่วมกับคณาจารย์จากคณะต่างๆ ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อวิจัยปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมในด้านต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ความเหลื่อมล้ำด้านชีวิตความเป็นอยู่ ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป
วิสัยทัศน์
ศูนย์วิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมและเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมที่ดีกว่า
พันธกิจ
1. ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
2. เสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความความเหลื่อมล้ำในสังคม
ความเชี่ยวชาญ:
ชื่อโครงการ | แหล่งทุน |
ข้อเสนอโครงการวิจัย | |
ผลกระทบของสถาบันการเมืองและสถาบันเศรษฐกิจต่อการใช้จ่ายด้านสวัสดิการ: กรณีศึกษากลุ่มประเทศอาเซียน(พ.ศ. 2542-2555) | งบประมาณแผ่นดิน (มุ่งเป้า: Flagship) |
ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | งบประมาณแผ่นดิน (วช.) |
การสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อการพัฒนามาตรฐานบังคับปริมาณสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร | มูลนิธิบูรณะนิเวศ |
โครงการวิจัย | |
การศึกษาความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นและทางเลือกนโยบายเพื่อสร้างความเป็นธรรม |
มูลนิธิเอเชีย |
การสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อการพัฒนามาตรฐานบังคับปริมาณสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร | มูลนิธิบูรณะนิเวศ |
บทความ | |
Politico-Economic Institutions and Economic Performance: Evidence from East Asia and Latin America, 1990-2009 |
ตีพิมพ์ European Journal of Social Sciences 41 (1) (ฐาน SCImago) |
ชื่อโครงการ | แหล่งทุน |
การปฏิรูปการศึกษาโดยใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ โดยวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของโอกาสของเยาวชน ในระดับมหาวิทยาลัย | วช. |
การออม รายได้ และความมั่งคั่ง ของครัวเรือน |
วช. |
การกระจายอำนาจทางการคลังของท้องถิ่น และ การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อความเสมอภาค |
มูลนิธิเอเซีย |
ทุนมนุษย์ อาชีพ และความเหลื่อมล้ำของทรัพย์สิน |
สกว |
การทบทวนสถานะความเหลื่อมล้ำและนโยบายการเงินการคลังและงบประมาณ |
เทศบาลนครอุดรธานี |
จำนวนผลงานของศูนย์
We have step by step tutorials & instructions
We have step by step tutorials & instructions
ชั้น 20 อาคารนวมินทราธิราช
สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
148 ถนนเสรีไทย คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240
02–727–3650, 081-875-2429
direk.p@nida.ac.th
12 ศูนย์วิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์