ศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ความเป็นมา

     ศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Center for AEC Capability Research) เป็นศูนย์หนึ่งในสิบสองศูนย์วิจัยของสำนักวิจัย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2555 ภายใต้ยุทธศาสตร์งานวิจัยของสถาบันฯในการสร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนบริหารศาสตร์และการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในระดับสากล

     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( Asean Economics Community – AEC ) คือ การร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ไทย  พม่า ลาว  เวียดนาม มาเลเซียสิงคโปร์  อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชาและบรูไน  เพื่อผลประโยชน์ในอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ การส่งออก และการนำเข้าของสินค้า เริ่มใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558  ผลจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้ประเทศสมาชิกมีผลประโยชน์  อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้าหรือที่เรียก ว่าสินค้าอ่อนไหว

     ทั้งนี้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดำเนินการควบคู่ไปกับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งเป็นสามส่วนหลักของ ประชาคมอาเซียน

     AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ

     1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

     2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

     3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

     4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

     ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนศึกษาความพร้อมต่อการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียน ในด้านต่างๆ  6 ด้าน ได้แก่

     1. ด้านการค้าสินค้า

     2. ด้านการท่องเที่ยว

     3. ด้านการเงิน การลงทุน

     4. ด้านแรงงาน

     5. ด้านการเกษตร

     6. ด้านอื่นๆ

     และในช่วงที่ผ่านมาศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดำเนินโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่

     - โครงการความสามารถในการแข่งขันของไทยกับประเทศใน ASEAN

     - โครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมของไทยด้านการท่องเที่ยว

     - โครงการอื่นๆที่เกี่ยวกับ AEC

วิสัยทัศน์

มุ่งมั่นสร้างและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยและต่อประชาคมอาเซียน

  • รศ.ดร.พรเพ็ญ วรสิทธา

    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    ความเชี่ยวชาญ -

  • ผศ. ดร. อภิรดา ชิณประทีป

    รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    ความเชี่ยวชาญ : 

ผลงานวิจัย

ชื่อโครงการ แหล่งทุน
การศึกษาโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำเพื่อบรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการน้ำที่ดีในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
การศึกษาการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในภาคการเกษตรในพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประทาน กรณีศึกษาโครงการชลประทานแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก สกอ.
 

ชื่อโครงการ
ข้อเสนอโครงการวิจัย
บัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทยและการประยุกต์ใช้
การสำรวจและการประมาณการความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”
โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาคเกษตร กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จังหวัดปทุมธานี
การสังเคราะห์ งานวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียนในภาคการเกษตร
การศึกษาหาแนวทางสร้างรายได้ให้ประเทศไทยจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมและงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC
โครงการวิจัย
ตลาดธุรกิจภูมิสารสนเทศในประเทศไทยประจำปี 2557
โครงการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้และประเมินศักยภาพตลาดตราสารหนี้ไทยในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC)
การเตรียมพร้อมด้านการแข่งขันและการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2015
โครงการศึกษาความพร้อมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยภายใต้การแข่งขันในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC)
โครงการ “Climate Change Planning and Budgeting for Agricultural Sector” (แผนงานและงบประมาณด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับภาคการเกษตร)
การฝึกอบรมและอื่นๆ
ที่ปรึกษาการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม โครงการ “การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในส่วนภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 2558” สำหรับกองอาเซียน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  (พค.-ตค. 2557)
ที่ปรึกษาการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม โครงการ “การเตรียมความพร้อมของภาคประชาชน โดยการสร้างความตระหนักรู้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน” สำหรับกองอาเซียน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  (พค.-ตค. 2557)
 

 โครงการเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีอาเซียน

ด้านตลาดเงิน ตลาดทุน
-โครงการศึกษาความพร้อมในสาขาการธนาคารของไทยภายใต้การแข่งขันในประชาคมอาเซียนปี 2015

-โครงการศึกษาความพร้อมตลาดทุนไทยสู่การแข่งขันภายใต้การแข่งขันอย่างมีธรรมาภิบาลในประชาคมอาเซียน ปี 2015

-โครงการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาตลาดทุนและประเมินศักยภาพตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC)

ด้านการเกษตร
-Nation-Wide Agriculture Survey in Thailand

-โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาคเกษตร กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จังหวัดปทุมธานี

ด้านอื่นๆ
-โครงการศึกษาผลกระทบของการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน/ไทยกับบางประเทศในทวีปอเมริกาใต้

 ดำเนินการวิจัยเพื่อกรมเจรจาการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ 2553 (นักวิจัยและหัวหน้าโครงการ)

ชื่อโครงการ แหล่งทุน
การจัดเก็บข้อมูลบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทยปี ๒๕๕๖ งบประมาณประจำปี 2556
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมของประชาชนในต่างจังหวัด งบประมาณประจำปี 2555
โครงการศึกษาความพร้อมในสาขาการธนาคารของไทยภายใต้การ แข่งขันในประชาคมอาเซียนปี ๒๐๑๕ งบประมาณประจำปี 2556
ชุดโครงการ ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการตลาดข้าวไทยใน AEC ประกอบด้วย ๔ โครงการย่อย สวก.
โครงการวิจัย เรื่อง การจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการเอกชนเพื่อสร้างบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทยปี ๒๕๕๖ งบประมาณประจำปี 2557 ตามมติ ครม.
โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน โดยริคาร์เดียน โมเดล กรณีศึกษา โครงการชลประทานวังบัว จังหวัดกำแพงเพชร สวก.
 โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาความเสี่ยง ความเปราะบาง และแนวทางการปรับตัว ของชุมชนชายฝั่งทะเล ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี สวก.

ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่:

• บทความเรื่อง “การเพิ่มเงินออมระยะยาวให้แก่ผู้มีรายได้น้อย”  นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Developing Thailand toward Knowledge Society)  จัดโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  วันที่ 1 เมษายน 2551 หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2551พรเพ็ญ วรสิทธา. 2555. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมของประชาชนในต่างจังหวัด.   สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์พรเพ็ญ วรสิทธา. 2553. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมของประชาชน: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร.สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


• บทความเรื่อง “การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออม” นำเสนอในการประชุมวิชาการ เรื่อง เศรษฐกิจฐานรากวันนี้ จัดโดยคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อ เมษายน 2551

ติดต่อเรา

ศูนย์วิจัยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ชั้น 20 อาคารนวมินทราธิราช

สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

148 ถนนเสรีไทย  คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240 

เบอร์โทร

02–375–8842 , 081-733-7890

Email

pornpen_econ@yahoo.com